วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560

ความเชื่อส่วนบุคคลอันน่าเคราพ



ความเชื่อส่วนบุคคลอันน่าเคราพ




บทความบทนี้

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อประกอบการสืบค้นเพื่อประสบการณ์ภาคสนามในการเรียนการสอนจริยธสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาภาพยนตร์และวีดีทัศน์ หลักสูตรและการสอน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ตำราหลักนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสาร ทฤษฎีและแบบการสัมภาษและสื่อสาร ภาษาเพื่อการสื่อสาร การวิเคราะห์ผู้รับสาร คุณธรรม จริยธรรม และวิชาชีพนิเทศศาสตร์ การสื่อสารกับสังคม การสื่อสารกับการพัฒนาสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมุ่ง นำไปสู่แนวทางการทำงานด้านสื่อสารมวลชนและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาของสิ่งลี้ลับ คือ ความรู้พื้นฐานของนิเทศศาสตร์ การเสนอ เพื่อเสนอแนะแนวคิดให้ผู้ที่จะทำการนิเทศได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใฝ่คว้า ต้องเสาะแสวงหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อจะสนับสนุนงานของ ตน นอกจากนี้สิ่งที่ผู้สอนคาดหวัง เป็นผู้มีความรู้เป็นเลิศ มีความสามารถด้าน การสอนเป็นเยี่ยม มีมนุษย์สัมพันธ์และทักษะที่จำเป็นรอบด้าน คุณลักษณะเหล่านี้ต้องอาศัย ประสบการณ์และการปฏิบัติเพื่อหาความชำนาญและความเข้าใจของเรื่องเหนือธรรมชาติ นอกเหนือจากการศึกษาหาความรู้อีกทางหนึ่ง


การครอบครูหรือครอบเศียรพ่อแก่
พิธีครอบครู ต่างกับพิธีไหว้ครูทั่วไป เป็นพิธีการยกย่องและอนุรักษ์ไว้เพราะครูเป็นผู้ที่ให้ความรู้ ความเฉลียวฉลาดในด้านศิลปวิทยาแก่ศิษย์ ครูจึงเป็นผู้ควรแก่การคารวะบูชา พิธี ไหว้ครูได้ถูกกำหนดระเบียบและบัญญัติวิธีไว้ให้ปฏิบัติกันมาด้วยหลักเกณฑ์อันดี เพื่อก่อให้เกิดศิริมงคลแก่ผู้เรียนพิธีการไหว้ครูโขนและละครในปัจจุบันส่วนใหญ่ดำเนินตามแบบแผนที่สืบทอดมาแต่โบราณก็แต่บางส่วน แม้จะแก้ไขเพิ่มเติมจุดประสงค์ในบางส่วนก็เพื่อการสร้างศรัทธายิ่งขึ้นจากการสันนิษฐานของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ว่าการฟ้อนรำของไทยนั้นมีที่มาเป็น ๒ ทาง ทางที่ ๑ เกิดจากการที่มนุษย์ดัดแปลงการร่ายรำจากธรรมชาติ จนเป็นศิลปะที่สืบทอด กันมา ได้แก่ การแสดงพื้นเมืองต่าง ๆ อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า ได้รับวัฒนธรรมจากอินเดีย ซึ่งบูชาเทพเจ้า 
ดังนั้นศิษย์นาฏศิลป์โขน ละคร จึงถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นประเพณี คือ ผู้ที่เรียนนาฏศิลป์ โขน ละคร จะต้องจัดพิธีไหว้ครูขึ้น ดังนี้
๑. เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณครู
๑.๑ ทำพิธีอัญเชิญครูมาในพิธี เพื่อให้ศิษย์กราบไหว้เป็นศิริมงคล
๑.๒ ตอบแทนพระคุณครู ด้วยการจัดหาเครื่องสังเวย เครื่องกระยาบวช เครื่องเซ่นตามลักษณะของครู
๑.๓ ให้ความบันเทิงแก่ครู เสมือนเป็นการทดสอบฝีมือ ด้วยการรำถวายมือ
๑.๔ โปรยข้าวตอกดอกไม้ ส่งครูเมื่อเสร็จพิธี
๒. เป็นการแสดงความเคารพครูด้วยการหาดอกไม้ ธูป เทียน บูชาครูเพื่อขอบารมีครูช่วยคุ้มครองศิษย์
๓. เป็นการมอบตัวเข้าเป็นศิษย์ ขอเป็นผู้สืบทอดศิลปะ
๔. เป็นพิธีประสิทธิ์ประสาทความสำเร็จการศึกษาชั้นสูงของการศึกษาวิชานาฏศิลป์ โขน ละคร
๕. เป็นวันรวมพลังความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของศิษย์นาฏศิลป์ทุกรุ่น ทุกระดับชั้น ที่พร้อมใจกันจัดพิธีเพื่ออัญเชิญครูมาให้ศิษย์คารวะและแสดงกตเวทิตา เป็นการน้อมจิตรำลึกพระคุณของครู
๖. เป็นการรักษาประเพณีอันดีงามให้คงอยู่
๗. เป็นการประกวดความเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมอันดีงามเป็นของตนเอง 
พิธีมอบนี้ เป็นพิธีที่ประกาศให้ศิษย์ทุกคนรู้ว่า ศิษย์ผู้นั้นมีความรู้ความสามารถสมควรเป็นครูโขนละครได้ เหมือนกับเป็นการเรียนจบหลักสูตรรับประทานปริญญาบัตรในปัจจุบันนี้ สิ่งที่ครูมอบความเป็นครูให้ก็คือ อาวุธที่ใช้ในการแสดงละคร โขน ทุกชนิด และบทละครมัดรวมกันส่งให้ศิษย์ และถ้าศิษย์คนใดมีความสามารถเหนือขึ้นไปอีก จนถึงระดับผู้เชี่ยวชาญและต้องเป็นศิลปินชายที่แสดงเป็นตัวพระคือ พระราม ต้องเป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เสพของมึนเมาเป็นอาจิณ บวชเรียนแล้ว  ดังนั้นการรับถ่ายทอดวิชาไหว้ครูนี้ตั้งแต่โบราณมาก็มักจะตกอยู่กับผู้แสดงเป็นตัวพระทั้งนั้นระเบียบของการจัดพิธีไหว้ครูนั้นมีข้อกำหนดว่า ให้กระทำพิธีขึ้นได้เฉพาะในวันพฤหัสบดี เที่ยงวันเท่านั้น เพราะนับถือกันว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู เดือนซึ่งนิยมประกอบพิธีตามโบราณ นิยมก็กำหนดให้ประกอบพีธีในเดือนคู่ เช่นเดือน ๖,,๑๐,๑๒,๒ และเดือน ๔ แต่มีข้อยกเว้น เดือนคี่อยู่เดือนเดียวคือเดือน ๙ เช่นเดียวกับกำหนด เดือนมงคลสมรสแต่งงานอนุโลมให้จัดพิธีได้ เหตุที่ใช้เดือนคู่นั้น เพราะถือว่าเดือนคู่เป็นเดือนมงคล ส่วนเดือนคี่นั้นเป็นเศษที่อนุโลมให้ทำพีในเดือน ๙ ได้นั้น ถือว่าเลข ๙ เป็นเลขมงคลของไทยสืบมาถ้าได้เป็นวันพฤหัสบดีข้างขึ้นก็นับว่าเป็นมงคลยิ่งเพราะข้างขึ้นการประกอบพิธีนิยมวันข้างขึ้นซึ่งเป็นวันฟูเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง
เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ในการประกอบพิธีจะต้องเริ่มพิธีสงฆ์ก่อนเพื่อเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าก่อนทุกครั้ง ดังนั้นการจัดสถานที่จึงนิยมตั้งที่บูชาพระพุทธรูปไว้ส่วนหนึ่ง หรือถ้าต้องการที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปมาตั้งรวม ก็ให้ตั้งพระพุทธไว้สูงสุดในมณฑลพิธีแม้ว่าจะไม่ อัญเชิญพระพุทธรูปออกตั้งเป็นประธานในการประกอบพิธี ก็จะต้องเริ่มต้นกล่าวนมัสการคุณพระรัตนตรัยก่อนเสมอสำหรับเครื่องสังเวยจัดเป็นคู่ มีทั้งของสุกและดิบ ของดิบตั้งไว้ทางที่บูชาฝ่ายอสูร (ด้านซ้าย) ส่วนของสุกเป็นของเทพและฝ่ายมนุษย์(ด้านขวา) การจัดสถานที่จัดเป็น ๒ เขต คือ สำหรับ ประกอบพิธีสงฆ์ ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะหมู่บูชา ประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนที่ประกอบพิธีไหว้ครู จะจัดโต๊ะหมู่เป็น ๓ หมู่ คือ โต๊ะครูฝ่ายเทพอยู่กลาง ครูฝ่ายมนุษย์อยู่ทางขวา ครูฝ่ายยักษ์อยู่ ทางซ้าย ส่วนเครื่องดนตรีจะจัดโต๊ะต่ำ ๆ ปูผ้าขาววางเครื่องดนตรีทุกชิ้น ตั้งที่นั่งผู้ประกอบพิธี (เจ้าพิธี) ปูลาดด้วยผ้าหรือหนังสือ วางพานข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน กระแจะจันทร์ มาลัย วางพาน ตำรับโองการ บาตรน้ำมนต์ ไม้เท้า จัดที่สำหรับวงดนตรีปี่พาทย์ให้ไว้ทางขวาหรือทางซ้ายของครูก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมวงปี่พากย์ตั้งอยู่ทางซ้ายมือหรือขวามือก็ได้ เพื่อบรรเลงหน้าพาทย์สำคัญ ตามที่ครูผู้ประกอบพิธีเรียกให้บรรเลง หน้าตะโพนในวงปี่พาทย์จะลาดผ้าขาววางขันกำนล ๘ ขัน (ในขันกำนล ประกอบด้วยเงิน ๑๒ บาท ดอกไม้ ธูป เทียน และผ้าขาว) ครบตามจำนวนผู้บรรเลงและมีผ้าขาวยาว ๓ เมตร 
เริ่มพิธีไหว้ครู ครูผู้เป็นประธานประกอบพิธี (นุ่งห่มผ้าขาว) สมมติเป็นพราหมณ์ผู้ทรงศีล (มีความหมายว่าพราหมณ์ผู้ทรงศีล เป็นผู้เข้ามามาประกอบพิธี ส่วนการรดน้ำสังข์ไปโดยรอบนั้น เท่ากับเป็นการอธิษฐานกำหนดใช้สถานที่นี้ประกอบ จากนั้นขึ้นไปนั่งบนตั่งที่หน้าบูชา)ครูผู้เป็นประธานประกอบพิธี (นุ่งห่มผ้าขาว) สมมติเป็นพราหมณ์ ผู้ทรงศีลถือสังข์เดินถอยออกไปอยู่ที่ปลายผ้าขาวที่ปูลาดหันหน้าประธานในงาน เชิญเข้ามาจุดเทียนทอง ทั้งสองฝั่งซ้ายและขวา และเทียนชัยที่ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างเทียนทอง เงิน จุดธูปบูชา ๙ ดอก
ประธานผู้ประกอบพิธี จุดธูป ๙ ดอก กราบ ๓ ครั้ง เริ่มบูชาพระรัตนตรัยแล้วชุมนุมเทวดาสำหรับคาถาสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าพิธีจะใช้ท่องในพิธีครอบครู ตอนที่นำเศ๊ยรของครูคือ พ่อแก่ เทริด พระพิราพ มาครอบให้กับบรรดาศิษยานุศิษย์ เพื่อเป็นศิริมงคล พระฤาษีตาไฟหรือที่คนไทยมักจะเรียกว่า พ่อแก่ท่านเป็นมหาฤาษีองค์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสังคมไทยมาอย่างช้านาน ทั้งในตำนานการสร้างพระซุ้มกอ พระกรุถ้ำเสือและตำนานการสร้างบ้านแปลงเมือง จ.เพชรบูรณ์
การครอบเศียรฤาษีตาไฟ เป็นพิธีกรรมที่เคียงคู่กับสังคมไทยมาช้านาน เชื่อว่าจะทำให้เกิดสิริมงคลกับชีวิต ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้พ้นจากคุณไสยมนต์ดำนอกจากจะช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและ ยังทำให้เกิดญาณหยั่งรู้ขึ้นในตัวอีกด้วย



ที่จริงแล้วการครอบเศียรครูนั้น เป็นพิธีกรรมที่ให้ระลึกถึงครูบาอาจารย์ ระลึกถึงคำสั่งสอนและความดีงาม หากผู้เข้าพิธีครอบเศียร เป็นผู้อยู่ในศิลในธรรม ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามแบบอย่างครูบาอาจารย์แล้ว อานิสงส์ก็จะเกิดขึ้นอย่างไม่อาจประมาณได้ แต่หากผู้ครอบเศียรไม่ได้อยู่ในครรลองครองธรรม นอกจากไม่เกิดอานิสงส์จากการครอบเศียรแล้ว ยังจะทำให้เกิดโทษและสิ่งอัปมงคลในชีวิตอีกด้วย
นอกจากจะมีพิธีครอบเศียรพ่อแก่แล้วก็ยังมีพิธีครอบเศียรครูองค์อื่นอีก
อีกด้านหนึ่งก็เป็นผู้ให้ชีวตปัดเป่าโรคภัยได้
อานิสงส์ของการคอบเศียรพระพิราพ เชื่อว่าจะทำให้แคล้วคลาดปลอดภัย อยู่ร่มเย็นเป็นสุขและปราศจากโรคภัย
ความเป็นมาของการครอบเศียรครู
พิธีไหว้ครูแบบประเพณีโบราณที่ถูกต้อง นั้นประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ประเพณีไหว้ครูอย่างหลวง และประเพณีเลี้ยงผีอย่างราษฏร์
การครอบเศียรครูถูกจัดอยู่ในประเพณีไหว้ครูอย่างหลวง ซึ่งมีประวัติความเป็นมาสืบทอดมาตั้งแต่เมื่อใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พิธีการไหว้ครูและการครอบโขน-ละครนี้ได้ถูกกำหนดไว้อย่างมีแบบแผนเป็นแนวทางปฏิบัติที่ได้สืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานประกอบพระราชพิธีครอบประธานประกอบพิธีไหว้ครู
โขน-ละคร ตามแบบแผนราชประเพณีโบราณแก่ผู้ประกอบพิธี ๕ ท่าน คือ นายธีรยุทธ ยวงศรี นายธงไชย โพธยารมย์ นายทองสุก ทองหลิมนายอุดม อังศุธร และนายสมบัติ แก้วสุจริต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๒๗ ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นพระราชพิธีที่มีความสำคัญสูงสุดของวงการนาฎศิลป์และดุริยางคศิลป์ไทย
ความเชื่อมโยงระหว่างเศียรครูกับเศียรโขน
การแสดงโขนเป็นการแสดงชั้นสูงที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายมหาราช ได้กล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากาก และถืออาวุธ
การแสดงโขนโดยมากจะแสดงเรื่องรามเกียรติ์ หรือรามายะณะ อันแสดงให้เห็นว่าอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ มีบทบาทสำคัญมากในสังคมไทยยุคก่อน เพราะรามายะณะเป็นตำนานที่มาจากคำภีค์โบราณของพราหมณ์-ฮินดู ผู้แสดงก็จะสวมเศียรตามบทบาทของตัวละครที่มีอยู่ในตำนาน ซึ่งทุกคนก็จะให้ความเคารพต่อเศียรนั้นเสมือนครูบาอาจารย์ การครอบเศียรครูจึงมีต้นกำเนิดมาจากการแสดงโขนการครอบเศียรหลวง   คือการพระราชทานครอบเศียรที่กระทำโดยพระมหากษัตริย์เป็นผู้พระราชทานครอบเศียรให้แก่บุคคลเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งผู้ที่ได้รับการครอบเศียรจะถือเป็นเกียรติอันสูงสุดที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
ความมุ่งหมายในการประกอบพิธีไหว้ครู
๑. เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ครูบาอาจารย์ทั้งปวงที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้
๒. เพื่อให้ศิษย์มีความมั่นใจ ตั้งใจ และแน่วแน่ในการเรียนนาฏศิลป์ หลังจากได้ผ่านการทำพิธีกรรมแล้ว
๓. เพื่อเป็นการ ขอขมา ต่อครูบาอาจารย์ เมื่อได้กระทำผิดพลาด ทั้งทางกาย วาจา และใจ แม้จะเกิดขึ้นเพราะความไม่ตั้งใจก็ตาม
๔. เพื่อไว้สำหรับต่อท่ารำที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า เพลงหน้าพาทย์บางเพลงจะต้องต่อท่ารำในพิธีไหว้ครู จึงจะเกิดเป็นสิริมงคลทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
๕. เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ และตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ประพฤติตนแต่ความดีงาม และเชื่อฟังครูอาจารย์ผู้อบรมสั่งสอน
การตั้งเครื่องบูชาและเครื่องสังเวย
ที่สำหรับครูปัธยาย จัดเครื่องสังเวยของสุกและเป็นเครื่องคู่ (คือสิ่งละ ๒ ที่)
ที่สำหรับครูดนตรีอยู่ทางขวามือ จัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องคู่
ที่องค์พระพิราพทางด้านซ้ายมือ จัดเครื่องสังเวยของดิบเป็นเครื่องคู่
ที่พระภูมิจัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องเดี่ยว
ที่ตรงหน้าเครื่องปี่พาทย์วงที่ใช้บรรเลงในพิธี จัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องเดี่ยว

การครอบครูยกตัวอย่างตามคลิปนี้ คลิปจากในยูทูป ขออนุญาติเจ้าของคลิปด้วยนะค่ะ



การกำหนดวันไหว้ครู
พิธีไหว้ครูโขน-ละคร นิยมประกอบพิธีในวันพฤหัสบดี เนื่องจากศาสนาพราหมณ์เชื่อว่า วันพฤหัสบดีเป็น วันครูเป็นวันถือกำเนิดของพระพฤหัสบดีที่มีกำเนิดจากฤษี ๑๙ องค์ ซึ่งล้วนเป็นฤษีที่มีหน้าที่ในการสอน เป็นครูของมนุษย์และเทวดา จะเป็นมงคลสูงสุด มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง สำหรับเดือนนั้นจะนิยมตามแบบโบราณโดยกำหนดให้จัดพิธีในเดือนคู่ และเดือน ๙ ซึ่งเพื่อเป็นเลขมงคลของไทย สำหรับเดือนที่นิยมมากที่สุดในการจัดประกอบพิธีก็คือเดือน ๖ เพราะเป็นฤดูกาลแห่งการ
เพาะปลูกอันเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญงอกงาม
รายละเอียดสังเวย มีดังนี้
บายศรีปากชาม ๔ คู่                                หัวหมูสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่
มะพร้าวอ่อน ๔ คู่                                    เป็ดสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่
กล้วยน้ำไทย ๔ คู่                                    ไก่สุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่
ผลไม้ ๗ อย่าง ๔ คู่                                  กุ้งสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่
อ้อยทั้งเปลือก ๑ คู่                                  ปลาสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่
เผือก มัน ถั่ว งา นม เนย ๔ คู่                    ปูสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่
เหล้า ๔ คู่                                                หัวใจ ตับ หมูดิบ ๑ คู่
เครื่องกระยาบวช ๔ คู่                              ไข่ไก่ดิบ ๑ คู่
ขนมต้มแดง ขาว ๔ คู่หมูหนาม ๔ คู่           เครื่องจิ้ม ๔ คู่
ข้าวเหนียวหน้าเนื้อ หรือมะตะบะ ๑ คู่หมาก พลู บุหรี่ ไม้ขีดไฟ ๔ คู่
น้ำเย็น ๔ คู่                                              บุหรี่ กับ ชา ๔ คู่
จัดสิ่งของเหล่านี้ให้ครบไม่ขาดไม่เกิน นอกจากเครื่องบูชาและเครื่องสังเวยแล้ว ยังมีเครื่องกำนล ประกอบด้วย ขัน ๑ ใบ เงิน ๖ บาท ผ้าห่มหรือผ้าเช็ดหน้า ๑ ผืน เทียนขี้ผึ้งขาว ๓ เล่ม ดอกไม้ ธูป บุหรี่ ไม้ขีดไฟ และหมากพลู ๓ คำ ใช้ทั้งประธานในพิธีและผู้เข้าครอบครู
     วิธีเก็บรักษาหัวโขนหรือเศียรพ่อแก่
      การใช้และการผดุงรักษา
  หัวโขนแต่ละศีรษะได้รับการสร้างทำขึ้นเป็นเครื่องสวมศีรษะผู้แสดงประเภทหนึ่งที่เรียกว่า"โขน"ต่างได้รับการ  สร้างสรรค์ให้มีรูปลักษณ์ตั้งแต่ส่วนใบหน้าแสดงออกบุคลิก ระบุเพศ วัย เผ่าพงศ์ และอารมณ์ต่าง ๆ ตลอดจนส่วน เครื่องศิราภรณ์ลักษณะต่าง ๆ แสดงความสำคัญแห่งศักดิ์และฐานะ ด้วยกระบวนการทางช่างประณีตศิลป์ต่างๆ หัวโขนทั่วไป ดังนี้หัวโขนศีรษะเทพยดาต่าง ๆ จึงได้รับการยกย่องให้เป็น "มงคลวัตถุ" สำหรับความเชื่อและความ  นับถือในบรรดานักแสดงต่อมาได้รับการเก็บรักษาไว้ในภาชนะชนิดนหึ่งเรียกว่า " ลุ้ง" ประกอบด้วยตัวลุ้ง ฝาครอบ     สำหรับป้องกันหัวโขนที่เก็บรักษาไว้ภายในมิให้ชำรุดลุ้งสำหรับใส่หัวโขนนี้ มักทำเป็นรูปทรงกระบอกเตี้ย ๆ ตรง        กลางตัวลุ้งตั้ง "ทวน" คือหลักเตี้ยมีแป้นกลมสำหรับรองรับหัวโขนและชฎา ส่วนฝาลุ้งนั้นถ้าเป็นลุ้งสำหรับเก็บ    หัวโขนอย่างหัวกลมเช่นศีรษะลิงโล้น ยักษ์โล้น มักทำฝาหลังตัดตรง ถ้าเป็นลุ้งหัวโขนที่มียอดทงมงกุฎหรือชฎาก็มัก   ทำฝาเป็นรูปกรวยกลมทรงสูงบ้างเตี่ยบ้าง เพื่อให้มีที่วางพอเหมาะแก่ขนาดสูงของเครื่องยอดชนิดนั้น ๆ จะต้องมี "มีทวน" ตั้งขึ้นเทินหัวโขนให้สูงขึ้นจากพื้น ทำด้วยไม้ท่อนกลึงเป็นหลักทวน มีแป้นกลมเป็นฐานตอนโคนทวนกับมี  แป้นกลมตรงปลายทวนสำหรับรองรับหัวโขน ทวนคันหนึ่ง ๆ ขนาดสูงประมาณ 10-12 นิ้ว เมื่อนำเอาหัวโขน  สวมตั้งบนทวนเช่นนี้แล้ว หัวโขนจะลอยเหนือพื้นพอสมควรอนึ่ง หัวโขนที่ใช้สวมในการแสดงโขนยังได้รับความ  นับถือ ไม่วางไว้ที่ต่ำ ไม่ทำตกลงบนพื้น ไม่ข้ามกราย เพราะท่านคือของสูง

จงอย่าลบหลู่ในสิ่งที่มองไม่เห็น
ข้อมูลอ้างอิงจาก อาจารย์ผู้สอนที่เคยสอนที่โรงเรียนเก่าของผู้เขียนบทนี้เอง



วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

การใช้สัญญาอนุญาติ

 การใช้สัญญาอนุญาติของCreative Commons
พวกเราทุกคนควรเคราพในสิทธิของผู้อื่นด้วยนะค่ะควรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทุกท่ายอยากทราบใช่ไหมค่ะว่ากฏของมันมีอะไรบ้างเข้าไปอ่านในลิ้งนี้ได้เลยนะค่ะ รับของคุณจะเหมือนได้เรียนอยู่ในชั้นเรียนกับดิฉัน ขออนุญาติอาจารย์ผู้สอนคอม226ด้วยนะค่ะ ไปอ่านกันเลย











                                  อ่านต่อที่นี่













สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ความลี้ลับอันน่าเชื่อ โดย yoyodizza อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.

ความเชื่อส่วนบุคคลอันน่าเคราพ

ความเชื่อส่วนบุคคลอันน่าเคราพ บทความบทนี้ บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อประกอบการสืบค้นเพื่อประสบการณ์ภาคสนามในการเรียนการสอนจริยธสำหรับนั...